29 เมษายน 2552

เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น

1. ความหมายและที่มาของวิชาเศรษฐศาสตร์
1.1. ความหมายของเศรษฐศาสตร์
- เศรษฐศาสตร์หมายถึงวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรที่มี อยู่อย่างจำกัด เพื่อตอบสนองความต้องการต่างๆ ของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด
1.2. ที่มาของเศรษฐศาสตร์
1. บิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์ คือ อาดัม สมิธ (Adam Smith) ชาวสก๊อตแลนด์ ผู้เขียนหนังสือ "The Wealth of Nations" และเสนอนโยบายเสรีนิยม(Laissezfaire)รัฐบาลควรเข้ามาแทรกแซง ระบบเศรษฐศาสตร์ให้น้อยที่สุด
2. บิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์มหาภาค คือ จอห์น เมนาร์ด เคนส์ (John maynard Keynes) ผู้เขียนหนังสือ "The General Theory of Employment, Interest and Money" และเสนอแนวคิดที่ว่า รัฐบาลควรเข้ามาแทรกแซง ระบบเศรษฐศาสตร์มากขึ้น
2. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์
2.1. เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics)
- เป็นแขนงวิชาที่ศึกษาเศรษฐศาสตร์ในระดับหน่วยย่อย
- ตัวอย่างการศึกษา พฤติกรรมของตลาด, กลไกราคา, ทฤษฎีราคา
2.2. เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics)
- เป็นแขนงวิชาที่ศึกษาเศรษฐศาสตร์ในระดับส่วนรวมหรือระดับประเทศ
- ตัวอย่างการศึกษา ทฤษฎีรายได้ประชาชาติ, ภาวะการจ้างงานของประเทศ ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหภาคอาจแตกต่างกัน เนื่องจากมุ่งไปที่การศึกษาผลกระทบที่ มีต่อปัจเจกบุคคลและต่อส่วนรวม จึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกัน
3. แนวทางการศึกษาเศรษฐศาสตร์
3.1. เศรษฐศาสตร์ตามที่เป็นจริงและเศรษฐศาสตร์ที่ควรเป็น
1. เศรษฐศาสตร์ตามที่เป็นจริง (Positive Economics) เป็นการศึกษาแง่ข้อเท็จจริงทางเศรษฐศาสตร์
2. เศรษฐศาสตร์ที่ควรจะเป็น (Normative Economics) เป็นการศึกษาแง่ความคิดเห็นเกี่ยวกับ เศรษฐศาสตร์
3.2. การศึกษาเศรษฐศาสตร์ในปัจจุบันใช้วิชาคณิตศาสตร์และสถิติศาสตร์ เข้ามาช่วยอธิบาย
4. ปัญหาพื้นทางเศรษฐศาสตร์
4.1. การที่ทรัพยากรมีจำกัดเมื่อเทียบกับความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด ทำให้เกิดปัญหาพื้นฐาน เศรษฐศาสตร์ที่สำคัญคือ "ปัญหาการขาดแคลน" ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาการจัดระบบผลิต (ปัญหาการจัดสรรทรัพยากร)
4.2. สาระสำคัญของปัญหาการจัดสรรทรัพยากร คือจะผลิตอะไร อย่างไร และเพื่อใคร (What, how, for whom)
1. จะผลิตอะไร : ควรผลิตสินค้า-บริการอะไร ในปริมาณเท่าใด
2. จะผลิตอย่างไร : โดยใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
3. จะผลิตเพื่อใคร : จะกระจายสินค้าบริการไปให้ใคร
4.3. นอกจากนี้ ปัญหาสำคัญเกี่ยวเนื่องกับปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ คือ ปัญหาประชากร
1. ปัญหาประชากรที่สำคัญ คือ ความไม่สมดุลระหว่างจำนวนประชากรและทรัพยากร
2. บิดาวิชาประชากรศาสตร์ คือ โทมัส โรเบิร์ต มัลธัส (Thomas Robert Malthas) ได้สรุปว่า
- ประชากรมีการเพิ่มเป็นอัตราก้าวหน้าเรขาคณิต (1,2,4,8,16,32,....)
- อาหารที่มนุษย์ผลิตได้เพิ่มเป็นอัตราเลขคณิต (1,2,3,4,5,6,......)
- เมื่อประชากรเพิ่มมากกว่าอาหารที่ผลิตได้ มนุษย์จะเกิดการอดอาหาร
- มนุษย์จะไม่อดอยากถ้าหาทางคุมกำเนิด หรือ มีตัวยับยั้งธรรมชาติทีบั่นทอนชีวิตมนุษย์ เช่น โรคระบาด ภัยสงคราม
3. คำทำนายของมัลธัสปัจจุบันไม่เป็นจริง เนื่องจากมนุษย์มีความสามารถในการผลิตอาหารได้มากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อผ่านการปฎิวัติเขียว (Green Revolution) คือ ความก้าวหน้าในการปรับปรุง การผลิตให้ได้ผลผลิตเกษตรต่อไร่มากขึ้น เช่น โดยการปรับปรุงพันธุ์พืช ใช้ปุ๋ยหรือยาฆ่าแมลง


ที่มา http://www.geocities.com/entsatan/page10.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น